Wednesday, 28 December 2016

ข้อสอบชีววิทยา เรื่อง การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต

ข้อสอบชีววิทยา เรื่อง การเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต
1.   จากภาพข้างล่างแสดงให้เห็นถึงโครงสร้างของขาแมลง  กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่งอขา  น่าจะเป็นกล้ามเนื้อมัดใด


ก.  น1     และ  น3                                ข.  2     และ  น3               
ค.  2     และ  น4         ง.   น1     และ  น4              
จากภาพใช้ตอบคำถามข้อ 2-4

2.  ถ้ามีน้ำหนักมาวางไว้ที่หมายเลข  1  จะต้องออกแรงดึงที่จุดใดจึงจะยกน้ำหนักขึ้นมาได้
          ก.  2                       ข.  4   
ค.  5                       ง.  6
3.   จากภาพกล้ามเนื้อมัดไหนทำหน้าที่เหยียดแขน
ก.  1    ข.  3    ค.  4    ง.  5
4.  ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม  หมายเลข  4  ของขาหน้าควรยึดติดกับอะไร
          ก.  กระดูกสันหลัง  ข.  กระดูกอก
          ค.  กระดูกซี่โครง   ง.  กระดูกสะบัก
5.  เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่บังคับให้กระดูกอยู่เฉพาะที่  โดยทำหน้าที่โอบอยู่รอบข้อต่อเรียกว่า
          ก.  เอ็นเท็นดอน ข.  เอ็นลิกาเมนต์
          ค.  กระดูกอ่อน  ง.  หมอนรองกระดูก
6.  กล้ามเนื้อยึดติดกับกระดูกโดยอาศัย
     ก.  กระดูกอ่อน  ข.  เอ็นลิกาเมนต์
     ค.  เอ็นเทนดอน ง.  เยื่อหุ้มกระดูก
7.  จากแผนภาพข้างล่างแสดงถึงการจัดตัวของกล้ามเนื้อขาหลังของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในขณะกำลังเดิน  กล้ามเนื้อแทนด้วยเส้นและเทนดอนซึ่งมีขนาดยาวแทนด้วยเส้นทึบ  ข้อใดอธิบายถึงการทำงานของกล้ามเนื้อมัด  1  และมัด  2  เมื่อเหยียดขา




 





กล้ามเนื้อมัด  1             กล้ามเนื้อมัด  2
     ก.  หดตัว                  หดตัว
     ข.  คลายตัว               คลายตัว
     ค.  คลายตัว               หดตัว
     ง.  หดตัว                   คลายตัว
8. ข้อความใดอธิบายถึงลิกาเมนต์ได้อย่างถูกต้อง
ก. ไม่มีการยืดหยุ่นและยึดกล้ามเนื้อกับกระดูก
          ข. มีการยืดหยุ่น  และยึดกล้ามเนื้อกับกระดูก
          ค. ไม่มีการยืดหยุ่นและยึดกระดูกกับกระดูก
          ง. มีการยืดหยุ่นและยึดกระดูกกับกระดูก

9. แผนภาพ  1  และแผนภาพ  2  แต่ละภาพแสดงครึ่งาของส่วนอกที่ถูกต้องแบบ Transverse  section  แผนภาพ  1  แสดงถึงปีกตอนตีลง  ส่วนแผนภาพ  2  แสดงการตีปีกขึ้น
ข้อความใดที่ถูกต้องสำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อ  A  และกล้ามเนื้อ  B  เมื่อปีกถูกยกขึ้น
          กล้ามเนื้อ  A               กล้ามเนื้อ  B
     ก.  หดตัว                  หดตัว
     ข.  คลายตัว               คลายตัว
     ค. หดตัว                   คลายตัว
     ง.  คลายตัว                หดตัว

10. แผนภาพข้างล่างแสดงถึงด้านหลัง
ของกระดูกบางชิ้น  และกล้ามเนื้อแขน  และต้นแขนของคน  ลักษณะของข้อต่อ               หมายเลข  1  และ  2  มีลักษณะใด




            ข้อต่อ  1           ข้อต่อ  2
     ก.  บานพับ                บานพับ
     ข.  บานพับ                ลูกบอลกับเบ้า
     ค.  ลูกบอลกับเบ้า         ลูกบอลกับเบ้า
     ง.  ลูกบอลกับเบ้า         บานพับ
11   ข้อต่อแบบหมายเลข  1  ยังพบได้ที่ใดอีก
          ก.  หัวของกระดูกต้นขากับกระดูกเชิงกราน
          ข.  ข้อต่อที่หัวเข่า
          ค.  ข้อต่อที่นิ้วมือ
          ง.  ข้อต่อที่นิ้วเท้า
12. แผนภาพข้างล่างแสดงถึงกล้ามเนื้อ  4  มัด  ของขาคน  กล้ามเนื้อคู่ใดหดตัวในเวลาเดียวกันเพื่อยกและเหยียดขา

      ก.  A  และ  B            ข.  A และ  D    ค.  C  และ  D               ง.  C  และ B
13.  แผนภาพข้างล่างนี้เป็นกระดูกคน  ชิ้น  บริเวณใดของกระดูกที่จะต่อกันแบบลูกบอลกับเบ้า       
ก.  1  กับ  3              ข.  2 กับ  3 
ค.  2 กับ  4               ง.  3  กับ 5

14.  กล้ามเนื้อของสัตว์ชั้นสูงและคนอาจจะแบ่งได้เป็น  3  ชนิด  คือกล้ามเนื้อลายชนิด  skeletal  muscle  กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งโดยปกติแล้วมีการทำงานที่ควบคุมโดยระบบประสาทดังนี้
          ก.  การทำงานชอง skeletal muscle  ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจ
          ข.  การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ  ไม่อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจ
          ค.  การทำงานของกล้ามเนื้อเรียบ อยู่ภายใต้อำนาจการควบคุมของจิตใจ
          ง.  การทำงานของกล้ามเนื้อทั้ง  3  ชนิด อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจ
15.  ในระหว่างการวิ่งของสุนัข  สุนัขเคลื่อนที่ไปได้โดยอาศัยการทำงานของระบบอวัยวะอะไรบ้าง
          ก.  ระบบกล้ามเนื้อเรียบ                     
ข.  ระบบกล้ามเนื้อลาย  
          ค.  ระบบกล้ามเนื้อที่ยึดกับกระดูก          
ง.  ระบบกล้ามเนื้อที่อยู่นอกการควบคุมของจิตใจ
16.  การเคลื่อนที่ของไส้เดือนดินมีทิศทางที่แน่นอน  ต่างกับพยาธิตัวกลมซึ่งได้แต่งอตัวไปมาเป็นเพราะ
          ก.  ไส้เดือนดินมีขนแข็ง ๆ สั้น ๆ ช่วยยึดดิน
          ข.  ไส้เดือนดินมีกล้ามเนื้อทั้งตามยาวและตามขวาง
          ค.  ไส้เดือนดินมีอวัยวะรับความรู้สึกเจริญดี
          ง.  ไส้เดือนดินมีลำตัวที่เปียกชื้นอยู่เสมอ
17.  สัตว์พวกแรกที่มีการทำงานของระบบกล้ามเนื้อเป็นแบบแอนตาโกนิซึมคือ
          ก.  พลานาเรีย   ข.  แมงกระพรุน
ค.  ไส้เดือนดิน   ง.  ตั๊กแตน
18.  สัตว์ชนิดใดที่มีอวัยวะเฉพาะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนที่โดยอาศัยแรงดันไฮโดรสแตติก
          ก.  ปลาหมึก               ข.  ไส้เดือนดิน
ค.  แมงกะพรุน            ง.  ปลาดาว
19. สัตว์ใดไม่ใช้แรงดันน้ำในการเคลื่อนที่
     ก.  พลานาเรีย   ข.  แมงกะพรุน           ค.  ปลาหมึก     ง.  ดาวทะเล
20. สัตว์ชนิดใดเมื่อเคลื่อนที่อาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ตรงกันข้าม
     ก.  พลานาเรีย  แมงกะพรุน                  ข.  พลานาเรีย  ไส้เดือนดิน
     ค.  พลานาเรีย  หมึก                         ง.  แมงกะพรุน  หมึก
21. สัตว์ชนิดใดไม่ต้องใช้การเคลื่อนที่เพื่อการดำรงชีวิต
     ก.  ไส้เดือนดิน   ข.  ตัวจิ๊ด
     ค.  ตัวตืด         ง.  หนอนน้ำส้มสายชู
22. สัตว์ชั้นต่ำที่สุดที่มีการทำงานของกล้ามเนื้อตรงกันข้ามสำหรับการเคลื่อนที่คือ
     ก.  พลานาเรีย   ข.  ไส้เดือนดิน             ค.  แมลง         ง.  หมึก
23. สัตว์ที่มีไซฟอน (siphon) สำหรับการเคลื่อนที่คือข้อใด
     ก.  แมงกะพรุน            ข.  หมึก          ค.  หอยเซลล์              ง.  ดาวทะเล
24.  โครงร่างแข็งของแมลงไม่มีการเจริญเติบโต  แต่โครงกระดูกมนุษย์มีการเจริญเติบโตที่เป็นเช่นนี้เพราะ
     ก.  โครงร่างแมลงไม่มีเซลล์  แต่โครงร่างมนุษย์มีเซลล์
     ข.  โครงร่างแมลงไม่มีเซลล์เหมือนกับโครงกระดูกมนุษย์  ซึ่งไม่มีเซลล์เช่นกัน  แต่มนุษย์ยังมีกล้ามเนื้อ
     ค.  โครงร่างของแมลงเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว
     ง.  โครงร่างของแมลงและโครงกระดูกมนุษย์ต่างก็เป็นเซลล์  แต่โครงร่างแข็งของแมลงมีเซลล์ที่อายุสั้น
25. ในการเคลื่อนที่ของไส้เดือนดิน  อาศัยโครงสร้างใด
     ก.  กล้ามเนื้อวง  และกล้ามเนื้อตามยาว
     ข.  กล้ามเนื้อวง  กล้ามเนื้อตามยาว  และเดือย
     ค.  กล้ามเนื้อวง  กล้ามเนื้อตามยาว  และส่วนหน้าสุดของปล้องแรก
     ง.  กล้ามเนื้อตามยาว  กล้ามเนื้อวง  เดือย  และปาก
26.  ในขณะที่ไส้เดือนดินเคลื่อนที่  บริเวณส่วนของลำตัวที่ยืดยาวนั้น  บริเวณนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร
          ก.  กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว  กล้ามเนื้อวงคลายตัว
          ข.  กล้ามเนื้อตามยาวหดตัว  กล้ามเนื้อวงหดตัว
          ค.  กล้ามเนื้อตามยาวคลายตัว  กล้ามเนื้อวงหดตัว
          ง.  กล้ามเนื้อตามยาวคลายตัว  กล้ามเนื้อวงคลายตัว
27. เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของแมลงขนาดเล็ก  ข้อใดกล่าวถูกต้อง
          ก. เมื่อกล้ามเนื้อยกปีกหดตัว  กล้ามเนื้อกดปีกคลายตัว  ปีกกดลง
          ข. เมื่อกล้ามเนื้อยกปีกหดตัว  กล้ามเนื้อกดปีกคลายตัว  ปีกยกขึ้น
          ค. เมื่อกล้ามเนื้อยกปีกคลายตัว  กล้ามเนื้อกดปีกหดตัว  ปีกยกขึ้น
          ง. เมื่อกล้ามเนื้อยกปีกคลายตัว  กล้ามเนื้อกดปีกคลายตัว  ปีกกดลง
28. คนประเภทใดที่มีกระดูกขาที่แข็งแรงที่สุด
ก.  จ๊อกกิ้ง                 ข.  นักว่ายน้ำ
ค.  นักยกน้ำหนัก          ง.  นักกอล์ฟ
29. อวัยวะใดทำหน้าที่เชื่อมระหว่างกระดูกกับกระดูก  คือ
ก.  Disc          ข.  Tendon    
ค. Ligament    ง. Cartilage
30.กระดูกอะไรที่ไม่ใช่กระดูกแกน
          ก.  กะโหลกศรีษะ                             ข.  กระดูกซี่โครง
          ค.  ทั้ง  ก  และ  ข                           ง.  กระดูกหาง
31. ในกระดูกสันหลังเป็นที่อยู่ของ
ก.  ไขกระดูก                                  ข.  ไขสันหลัง
ค.  ทั้ง  ก  และ  ข                           ง.  ไม่ใช่ทั้ง  ก  และ  ข
32. กระดูกส่วนใดที่แข็งแรงที่สุด
ก.  แขน    ข.  ขา            
ค.  นิ้ว      ง.  ฟัน
33. กระดูกซี่โครงของคนมีทั้งหมดกี่คู่
ก.  10 ข.  12  ค.  14  ง.  16
34. การที่คนเราสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องแคล่วว่องไวนั้น  เกิดจากการทำงานร่วมกันของ
ก.  ระบบกล้ามเนื้อ   ระบบประสาท  และระบบโครงกระดูก
ข.  ระบบกล้ามเนื้อ   ระบบประสาท  และระบบหมุนเวียนโลหิต
ค.  ระบบกล้ามเนื้อ   ระบบโครงกระดูก  และระบบหมุนเวียนโลหิต
          ง.   ระบบกล้ามเนื้อ   ระบบโครงกระดูกำ  และระบบหายใจ
35.  .


          มีการเตรียมอุปกรณ์ดังภาพ เพื่อแสดงว่าสิ่งมีชีวิต เช่น กบ มีการหายใจแล้วได้คาร์บอนไดออกไซด์ การทดลองนี้ต้องเปลี่ยนแปลงอย่างไนจึงจะได้ผลดังกล่าว
          ก. หลอด E ควรจุ่มลงไปในน้ำแล้วควรใช้โซเดียมหรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์แทนน้ำปูนใสในขวด D
ข. หลอดF ควรจุ่มลงไปอยู่ในน้ำ ควรใช้โซเดียมหรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ แทนน้ำปูนใสในขวด B และทิศทางของอากาศควรกลับทิศ
ค. หลอด F ควรจุ่มลงไปในน้ำ ควรใช้โซเดียมหรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ แทนน้ำใน
ขวด A
ง. หลอด E ควรจุ่มอยู่ในน้ำ ควรใช้โซเดียมหรือโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ แทนน้ำในขวด และทิศทางของอากาศควรกลับทิศ
36.เหตุการณ์ใดจะเกิดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม หากจับสัตว์นั้นไปไว้ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำ
    กว่าอุณหภูมิร่างกายมาก ๆ เป็นเวลานาน
          ก. มีอัตราการย่อยอาหารเพิ่ม                ค. เกิดการสั่น   
          ข. อัตราการหายใจเพิ่ม                       ง. เกิดการหลั่งเหงื่อ
สำหรับข้อ 37 และข้อ 38 ใช้แผนภาพนี้

37.
                                                                  


บริเวณที่ศร A ชี้ คือ                
ก. กล่องเสียง                                  ข. คอหอย                                     ค. ขั้วปอด                                     . ต่อมไทรอยด์
38. ตลอดท่อ  B  ปรากฏว่ามีซิเลียบุอยู่โดยตลอด หน้าที่สำคัญของซิเลียเหล่านี้คือ
          ก. ช่วยเหลือในการแลกเปลี่ยนแก๊ส ค. ขับเมือกออกมาทาง pharynx
          ข. เพิ่มพื้นที่ผิวในท่อ                          ง. ทำให้อากาศที่ผ่านเข้าออกไปสู่ปอดชุ่มชื้น
39.เมื่อนำปลาขึ้นมาจากน้ำ ปลาจะตายเพราะขาดออกซิเจนทั้ง ๆ ที่ในอากาศมีเปอร์เซ็นต์ออกซิเจน
      สูงกว่าในน้ำ ทั้งนี้เพราะ
          ก. ในน้ำมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าในอากาศ
          ข. เสียงแรงลอยตัวเพื่อป้องกันการหายใจ
          ค. ซี่เหงือกรวมติดกัน ทำให้ลดพื้นที่ที่ใช้แลกเปลี่ยนแก๊ส
          ง. ปลาขาดฮีโมโกลบิน ซึ่งจำเป็นสำหรับการลำเลียงออกซิเจนจากอากาศ
40.ปัจจัยใดมีผลมากที่สุดในการทำให้อัตราการหายใจในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมเพิ่มขึ้น
          ก. มีปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในปอดมากเกินไป   
ข. ขาดออกซิเจนในเลือด
          ค. ขาดออกซิเจนภายในถุงลม                ง. คาร์บอนไดออกไซด์มีมากในเลือด
41. จากชื่อสัตว์และโครงสร้างในการขับถ่าย สัตว์ใดมีโครงสร้างชนิดใด
          ชื่อสัตว์           โครงสร้าง
          A ตั๊กแตน        1 . เฟลมเซลล์
          B ไส้เดือนดิน     2. ท่อมัลพิเกียน
C พลานาเรีย     3. เนฟริเดียม
          ก. A1 B2 C3              ข. A1 B3 C2    ค. A2 B3 C1              ง. A3 B2 C1
42. การกรองสารเพื่อการขับถ่ายเกิดขึ้นที่โครงสร้างใดต่อไปนี้
          ก. หน่วยไต                                    ค. โกลเมอรูลัส  
          ข. ท่อของหน่วยไต                            ง. โกลเมอรูลัสและโบว์แมนแคปซูล

ข้อมูลต่อไปนี้ใช้สำหรับข้อ 43 - 45
          ในการตรวจหมู่เลือด ผู้ตรวจจะหยดน้ำยาตรวจเลือดลงบนสไลด์ 2  หยด คือ น้ำยาแอนติ A  และน้ำยาแอนติ B  แล้วจึงหยดเลือดของผู้ถูกตรวจคนเดียวกันไปที่แอนติ A  และแอนติ B อย่างละหยด ดังภาพ

แอนติ-A

แอนติ-B

43 ถ้าเกิดตะกอนเฉพาะแอนติ A  ผู้ถูกตรวจจะมีเลือดหมู่ใด
          ก. A                        ข. B             ค. AB                       ง.  O


44. ถ้าไม่เกิดตะกอนเลยทั้งสองแห่ง ผู้ถูกตรวจจะมีเลือดหมู่ใด
          ก. A                        ข. B             ค. AB                       ง.  O
45. ถ้าเกิดตะกอนทั้งสองแห่ง ผู้ถูกตรวจจะมีเลือดหมู่ใด
          ก. A                        ข. B             ค. AB                       ง.  O



    


****************************************************************

No comments:

Post a Comment

โครงงานการศึกษาพฤติกรรมการออกไข่ของไก่ไข่

     การทดลองเลี้ยง ไก่ไข่ เพื่อใช้รับประทานอย่างปลอดภัย ปลอดสารพิษ สามารถทำได้ง่าย ที่บ้านผมเลี้ยงจำนวน 14 ตัว แบ่งเป้็น ไก่ไข่ ตัวเมีย 11 ...

Pageviews