Tuesday, 17 January 2017

ตัวอย่างงานวิจัย

1.
ผู้วิจัย : หทัยชนก นันทพานิช      
ปี        : 2546       
เรื่อง   : การศึกษาวิธีลดปริมาณการสูญเสียวิตามินบี-1 ในข้าวเหนียว ในระหว่างกระบวนการทำให้สุก
บทคัดย่อ
            ศึกษาวิธีลดปริมาณการสูญเสียวิตามินบี-1 ในข้าวเหนียวในระหว่างกระบวนการทำให้สุก พบว่าผลของเวลาที่ใช้ในการแช่ข้าว คือ 2,4,6,8 และ 10 ชั่วโมง เปอร์เซ็นต์การสูญเสียวิตามินบี-1 เท่ากับ 7.69,19.58,23.78,28.67, และ 32.88% ตามลำดับอุณหภูมิในการนึ่งข้าว 70°C, 80°C, 90°C, 100°C และ 110°C เปอร์เซ็นต์การสูญเสียวิตามินบี-1 เท่ากับ 10.20, 31.97, 44.90, 60.54, 72.79 และ 82.31% ตามลำดับ ผลของเวลาที่ใช้นึ่งข้าว เวลาที่ใช้นึ่ง 20, 25, 30 และ 35 นาที มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียวิตามินบี-1 เท่ากับ 11.81, 61.11, 66.66, 75.69 และ 82.64 % ตามลำดับ ส่วนผลการแช่ข้าวในน้ำประปา, น้ำกลั่น 2 ครั้ง, น้ำมะนาว 10%, น้ำมะนาว 20%, และน้ำมะนาว 30% พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียวิตามินบี-1 เท่ากับ 90.36, 66.66, 57.06, 50.28 และ 40.10% ตามลำดับ ดังนั้นถ้าต้องการลดปริมาณการสูญเสียวิตามินบี-1 ในข้าวเหนียวในระหว่าง กระบวนการทำให้สุกควรนึ่งข้าวโดยลดเวลาในการแช่ข้าวลง นึ่งโดยใช้ไฟปานกลางและใช้เวลานึ่งให้น้อยที่สุด ที่สำคัญหลีกเลี่ยงการแช่ข้าวด้วยน้ำประปาหรือน้ำบ่อ หรือบีบมะนาวลงในข้าวที่แช่ เนื่องจากระหว่างการนึ่งถ้าอยู่สภาวะที่เป็นกรดอัตราการสลายตัวของวิตามินบี-1 จะเกิดอย่างช้า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
                   
2.
ผู้วิจัย    : หทัยชนก นันทพานิช    
 ปี         : 2548      
 เรื่อง    : การศึกษาปริมาณกรดโฟลิกในพืชผักพื้นบ้านบางชนิดที่เป็นอาหารของคนภาคอีสาน โดยใช้เครื่องโครมาโท กราฟีของเหลวสมรรถนะสูง(HPLC)
บทคัดย่อ 
             ในส้มตำมีกรดโฟลิกในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ได้แก่
 มะละกอแขกดำ  12.82 มะละกอพื้นบ้าน 83.99 มะนาว 4.16 มะเขือเปราะ 24.63 มะเขือลาย 22.96
มะเขือเทศ 6.60 มะเขือเทศท้อ  20.33 พริกสด 0.86 พริกแห้ง ถั่วงงอก 36.01 ถั่วฝักยาว15.46 
และผักกาดดอง 0  % ของปริมาณน้ำหนักสด 100 กรัม(ความต้องการกรดโฟลิกในแต่ละวันตามช่วงอายุแรกเกิด-3ปี ต้องการ 100 กรัม4ปีขึ้นไป ต้องการ 400 กรัมผู้สูงอายุ ต้องการ 600 กรัมขึ้นไป)อาหารจะสูญเสียกรดโฟลิกร้อยละ 60เมื่อผ่านความร้อนมากกว่า 110 องศาเซลเซียส ดังนั้นการรับประทานผักควรเป็นผักสด
           

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
  
      
              

Friday, 13 January 2017

ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)-สถิติเชิงบรรยาย

สถิติเชิงบรรยาย


ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)-การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย


การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย


ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)-ประเภทข้อมูล

ประเภทของข้อมูล

ข้อมูล  เป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยในการตัดสินใจที่จะทำเริื่องใดๆก็ตาม สำหรับในการวิจัยนั้น ข้อมูลถือว่าเป็นสิ่งทีสำคัญมาก เพราะสามารถชี้นำความสำเร็จในการวิจัยได้ (ศึกษาจากการออกแบบการวิจัย) 


Thursday, 12 January 2017

ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)-การทบทวนวรรณกรรม


การทบทวนวรรณกรรม (review literature)

การทบทวนวรรณกรรมเป็นการศึกษาความเป็นไปได้ และบริบทของวิจัยที่เราจะทำการศึกษา ว่าควรศึกษาต่อไปในทิศทางใด เพื่อที่จะเกิดประโชน์สูงสุด


Tuesday, 10 January 2017

ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)-ขั้นตอนการวิจัย


ขั้นตอนการวิจัย/กระบวนการวิจัย 

มีขั้นตอนหลัก ดังนี้

1.กำหนดปัญหา/หัวข้อวิจัย
2.ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (review literature)
3.ออกแบบบการวิจัย (research design)
4.สรา้งหรือพัฒนาเครื่องมือวิจัย 
5.เก็บรวบรวมข้อมูล
6.วิเคราะห์ข้อมูล
7.รายงานผลการวิจัย

ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)-ความหมายของการวิจัย

ความหมายของการวิจัย

     การวิจัยมความหมายที่หลากนัย แต่สรุปโดยรวม การวิจัย นั้น หมายถึง การแสวงหาความรู้ใหม่โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัย เพื่อหาคำตอบ สำหรับคำถามวิจัยที่ผู้วิจัยศึกษา












Monday, 9 January 2017

ระเบียบวิธีวิจัย (research methodology)-วิธีการหาความรู้


วิธีการหาความรู้
    ในการศึกษาหาความรู้ เป็นกระบวนกาารที่ทีระบบระเบียบแบบแผนที่ชัดเจน หรือไม่ชัดเจนก็ได้  ทั้งนี้ความรู้ที่ได้อาจเกิดการการวิจัย หรือประสบการณ์ การบอกเล่า สืบทอดจากบรรพบุรุษ หรือหยั่งรู้เอาเอง ก็ได้

Friday, 6 January 2017

ข้อสอบเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยา

ข้อสอบเคมี เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยา
ตอนที่ 2 แบบอัตนัย 6 ข้อ (10 คะแนน)
1.       สาร A  ทำปฏิกิริยากับสาร B ได้สาร C เมื่อวัดความเข้มข้นสาร A ได้ดังนี้
เวลา (s)
ความเข้มข้นของสาร A (mol/dm3)
0
1.00
20
0.818
40
0.669
60
0.548
80
0.448
100
0.367
1.1 ในช่วงเวลา 0-20 วินาที มีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเท่าไร (1 คะแนน)
วิธีทำ  ..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
1.2    อัตราการเกิดปฏิกิริยาเฉลี่ยมีค่าเท่าไร (1 คะแนน)
วิธีทำ  ..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
2.       จงอธิบายทฤษฎีการชนว่ามีผลต่อการเกิดปฏิกิริยาอย่างไร (1 คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
3.       จงบอกปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา มา 5 ปัจจัย (2 คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
4.       จงอธิบายวิธีที่ทำให้เกิดอัตราการเผาไหม้ของเทียนไขเพิ่มขึ้น พร้อมเหตุผล (1 คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
5.       จงหาค่า K ของ CO2 (g) + H2 (g)+ https://juliebelledesigns.files.wordpress.com/2012/07/chemicalequilibrium.png?w=300&h=244 CO (g)+H2O (l) (2 คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................

โครงงานการศึกษาพฤติกรรมการออกไข่ของไก่ไข่

     การทดลองเลี้ยงไก่ไข่เพื่อใช้รับประทานอย่างปลอดภัย ปลอดสารพิษ สามารถทำได้ง่าย ที่บ้านผมเลี้ยงจำนวน 14 ตัว แบ่งเป้็นไก่ไข่ตัวเมีย 11 ตัว และตัวผุู้ 3 ตัว สามารถเก็บไข่ได้เมื่ออายุราวสามเดือนเกือบสี่เดือน และสามารถเก็บไข่ได้ประมาณ 6 เดือน เก็บไข่ได้วันนึง ประมาณ 6-10 ฟอง/วัน ตอนนี่เลยไม่ต้องซื้อไข่ไก่อีกหลายเดือนละครับ
     ในการศึกษาทดลองครั้งนี้พบว่าไก่มีพฤติกรรมที่ออกไข่ต่างจากเป็ดมาก นั่นคือเป็ดจะออกไข่ในช่วงเช้าตรู่ตี 4-6 โมงเช้า (เป็ดคงอายมั้งเนาะ) ถ้ามีแสงสว่างละเขาจะไม่ออกไข่ แต่ถ้าเป็นไก่จะออกไข่ในช่วงหลังอาหารเช้า  ประมาณ 10-11 โมงเช้า นอกจากนี้ผมยังพบว่าไก่ไข่ที่เลี้ยงเป็นสายพันธ์ุตามท้องตลาดจะไม่กะโตกกะตากเหมือนไก่พื้นเมืองี่เวลาออกไข่จะร้องเสียงดัง จะศึกษาต่อไปอีกว่าอาหารที่มีผลต่อการออกไข่ /ต่อน้ำหนักไข่ อย่างไร เดีี้ยวว่างๆจะจัดทำรายงานเป็นเล่มอัพให้อ่านกันเล่นๆนะครับ เผื่อเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นไม่มากก็น้อย
ขอบคุณที่ติดตามครับ


 เครดิตคลิปวิดีโอจาก

Wednesday, 4 January 2017

ข้อสอบเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์1 (part อัตนัย)

ข้อสอบเคมี เรื่อง ปริมาณสารสัมพันธ์
ตอนที่ 2 แบบอัตนัย 10 คะแนน
1.       STP คืออะไร (1คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
2.       เลขมวลกับเลขอะตอมต่างกันอย่างไร (0.5คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
3.       เลขอาโวกาโดร คืออะไร และมีค่าเท่าไร (0.5 คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
4.       แก็สออกซิเจน 1 โมล มีปริมาตรเท่ากับ แก็สไนโตรเจน 1 โมล หรือไม่ เพราะเหตุใด (1คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
5.       จงอธิบายการเตรียมสารละลายโซเดียมคลอไรด์ NaCl เข้มข้น 1 โมล ในน้ำ H2O 500 cm3
(2คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
.........................................................................................................................................................................
6.       สารละลายน้ำตาลกลูโคส (C6H12O6)เข้มข้น 2 โมลาร์ หมายความว่าอย่างไร (1คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
7.       ในอากาศมีฝุ่นละออง 0.05 ppm หมายความว่าอย่างไร (1คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
8.       น้ำตาลซูโครส (C12H22O11) 34.2 กรัม ละลายในน้ำ 5 กิโลกรัม มีความเข้มข้นกี่โมแลล (1คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................

            9.ธาตุ A มี 2 ไอโซโทป คือ 54 A และ 55 A พบในธรรมชาติปริมาณร้อยละ 99.3 และ 0.7 ตามลำดับ มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ A มีค่าเท่าใด (2 คะแนน)
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................
..........................................................................................................................................................................


Monday, 2 January 2017

ข้อสอบปริมาณสารสัมพันธ์ 1

ข้อสอบปริมาณสารสัมพันธ์ 1
1. ธาตุแมกนีเซียมมีมวลอะตอมเท่ากับข้อใด
          ก. 12             ข. 24   ค. 25             ง. 13
2.จงคำนวณหามวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุไนโตรเจน
ไอโซโทป
มวลอะตอมของไอโซโทป
%ในธรรมชาติ
14N
14.0031
99
15N
15.0001
1
ก. 14.001       ข. 14.005
          ค. 14.009       ง. 14.010
3. มวลอะตอมของธาตุ Z 1 อะตอม มีมวล 23.24 ´ 10 -23 กรัม มวลอะตอมของธาตุ A มีค่าตรง กับข้อใด
ก. 14             ข. 17
          ค. 28             ง. 140
4. ธาตุ A มี 2 ไอโซโทป คือ 50 A และ 51 A พบในธรรมชาติปริมาณร้อยละ 99.6 และ 0.4 ตามลำดับ มวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ A มีค่าเท่าใด
ก. 50.004       ข. 50.040
ค. 54.004       ง. 54.040
5. Na2 CO3 มีมวลโมเลกุลเทาใด (มวลอะตอม Na = 23, C = 12, O = 16)
          ก. 46             ข. 48
ค. 94             ง. 106
6. จงหามวลโมเลกุลของ Pb (NO3)2 (มวลอะตอม Pb = 207, O = 16, N = 14)
ก. 207           ข. 221
ค. 331           ง. 342
7. H2SO4  2 โมเลกุล หนักกี่กรัม (มวลอะตอม H = 1, S = 32, O = 16)
          ก. 98 กรัม                 ข. 196 กรัม
ค. 98 × 1.66 × 10-24 กรัม       
ง. 196 × 1.66 × 10-24 กรัม
8. น้ำ (H2O) 180  โมเลกุลมีจำนวนกี่โมล
          ก. 0.1            ข. 1
          ค. 10             ง. 100
9. น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) 1.5  โมลมีจำนวน
กี่กรัม
          ก. 180           ข. 270
          ค. 360           ง. 440
10. ข้อใดคือเลขอาโวกาโดร
ก. 1.6x10 21     ข. 1.66 x10 23
          ค. 6.02 x10 23  ง. 6.03x10 23
  ใช้ข้อความนี้ตอบคำถามข้อที่ 11-12
แก็สแอมโมเนีย (NH3) จำนวน 34.0 กรัม
 11. จำนวนโมลของแก็สแอมโมเนียคือข้อใด
          ก. 1              ข. 2
          ค. 3              ง. 4
12. จำนวนปริมาตรของแก็สแอมโมเนียคือข้อใด
          ก. 22.4 dm3    ข. 44.8 dm3
          ค. 67.2 dm3    ง. 92.4 dm3    
13. ไทเทเนียม (Ti) จำนวน 9.6 x 10 -2 กรัม มีกี่อะตอม
          ก. 1.2 x 10 -22 อะตอม                      ข.2.2 x 10 -22 อะตอม   
          ค. 1.4 x 10 -22 อะตอม                      ง.2.4 x 10 -22 อะตอม
14. จงหาจำนวนโมลของแก็สไนโตรเจน (N2) 100 โมเลกุล
          ก. 1.57 x 10 -22 โมล                        ข. 1.66 x 10 -22 โมล    
          ค. 1.8 x 10 -22 โมล                          ง. 2.0 x 10 -22 โมล               
15. แก็สไฮโดรเจน (H2) จำนวน 1.60 x 6.02
x 10 23 โมเลกุล มีมวลกี่กรัม
          ก. 1.5 กรัม                ข. 3.0 กรัม
ค. 3.2 กรัม                ง. 4.2 กรัม
ใช้ข้อความนี้ตอบคำถามข้อที่ 16-19
สารละลายซึ่งประกอบด้วยกลูโคส (C6H12O6) จำนวน 100 กรัม ในน้ำ 300 กรัม
16. สารละลายข้างต้นมีความเข้มข้นเป็นร้อยละเท่าไรโดยมวล
          ก. 10             ข. 15            
ค. 20             ง. 25


17. น้ำตาลกลูโคสมีมวลโมเลกุลเท่าไร
          ก. 100           ข. 140           
ค. 180           ง. 200
18. สารละลายข้างต้นมีความเข้มข้นกี่โมล
          ก. 100/100     ข. 100/140    
ค. 100/180     ง. 100/200
19. สารละลายข้างต้นมีความเข้มข้นกี่โมลาร์
          ก. (100/100)x 400               
ข. (100/140)x 400
          ค. (100/180)x 400               
ง. (100/200)x 400
20. สารละลายข้างต้นมีความเข้มข้นกี่โมแลล
          ก. (100/100)x 300               
ข. (100/140)x 300
          ค. (100/180)x 300               
ง. (100/200)x 30
----------
ข้อสอบปริมาณสารสัมพันธ์ 1

โครงงานการศึกษาพฤติกรรมการออกไข่ของไก่ไข่

     การทดลองเลี้ยง ไก่ไข่ เพื่อใช้รับประทานอย่างปลอดภัย ปลอดสารพิษ สามารถทำได้ง่าย ที่บ้านผมเลี้ยงจำนวน 14 ตัว แบ่งเป้็น ไก่ไข่ ตัวเมีย 11 ...

Pageviews