แหนแดงกับโครงงาน

     วันนี้มาแนะนำเพื่อนๆครู สอนเด็กทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันเทรนด์รักสุขภาพมาแรง การกินการอยู่ต้องปลอดภัย  แต่ใครจะรู้ว่าอาหารที่เรากินอยู่ปลอดภัยแค่ไหน ดังนั้นadminจึงพาเด็กน้อยทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ปลูกฝังจิตวิทยาศาสตร์ ผ่านโครงงานการทำปุ๋ยแหนแดงเพื่อใส่นาข้าวอินทรีย์ ใส่ผักอินทรีย์ เลี้ยงไก่เนื้อ เลี้ยงไก่ไข่ เป็ดเนื้อ เป็ดไข่ เลี้ยงปลา เลี้ยงหมู และวัวควายที่เป็นออร์แกนิคส์หรือแบบอินทรีย์ 

     admin ศึกษาแหนแดงมาแล้ว 2 ปี และนำนักเรียนศึกษาแหนแดงและการใช้ประโยชน์  และออกเผยแพร่องค์ความรู้สู่ชุมชน เพื่อสรา้งเครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์น้อย 
   




รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 งานศิลปหัตถกรรมนักเรียน

สนใจแหนแดงและโครงงานติดต่อที่ QR code ข้างล่าง

วิธีการสั่งซื้อแหนแดง

เรียนลูกค้าที่เคารพ

           ขายพันธุ์แหนแดง ชุดละ 100 บาท 
          เมื่อซื้อครบทุกๆ 3 ชุด แถมอีก 1 ชุด +ส่งฟรี
   (1ชุดประกอบด้วย พันธุ์แหนแดงสด ปริมาตร 1 ลิตร
 และคู่มือการเพาะขยายพันธุ์)
ติดต่อที่ คุณวิทย์ โทร 089-4215812 หรือ 
Line id : treeaholic 
หรือคลิกลิ้งค์นี้
https://line.me/ti/p/S4zKEY7SRG
ปล.สินค้ารับประกันความเสียหายในการจัดส่ง 
ถ้าเน่าเสีย ส่งให้ใหม่ ฟรี+++++



   จัดส่งทุกวันจันทร์  ครับ

ไม่จำกัดขั้นต่ำในการสั่งซื้อนะครับ สั่งกี่ชุดก็ส่งถึงที่ครับ





       

ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์แหนแดง



            แหนแดงเป็นเฟินน้ำ ขนาดเล็ก ลอยบนผิวน้ำ ต้นแก่ที่ได้รับแสงเต็มที่จะเป็นสีแดงคล้ำ ต้นอ่อนหรือได้รับแสงไม่เต็มที่จะเป็นสีเขียว แตกกิ่งแบบขนนก รากเป็นรากพิเศษ ยาวอยู่ทางด้านใต้ของลำต้น ทั้งต้นและกิ่งมีใบขนาดเล็กปกคลุม เรียงสลับซ้อนกัน ใบแต่ละใบแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน ส่วนบนหนา สีเขียวหรือสีแดง ส่วนล่างบางอยู่ใต้น้ำ ไม่ค่อยมีสี ใบล่างสุดสร้าง สปอโรคาร์พ (sporocrap) 2-4 อัน ที่แกนของใบด้านใต้ใบ ภายในมีเมกะสปอร์และไมโครสปอร์

           ในใบของแหนแดงมีโพรงขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่อาศัยของแอนาบีนา (Anabenae) ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แอนาบีนาได้รับสารอาหารจากแหนแดง ส่วนแหนแดงจะได้ไนโตรเจนจากการตรึงไนโตรเจนของแอนาบีนา

            องค์ประกอบที่สำคัญได้แก่โปรตีน ไขมัน และเซลลูโลส แร่ธาตุ แหนแดงต้องการธาตุอาหารหลักที่สำคัญได้แก่ ธาตุฟอสฟอรัส และธาตุโพแทสเซียม และจุลธาตุที่สำคัญได้แก่ เหล็ก และ โมลิบดินัมซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเอนไซม์ไนโตรจิเนส ในการตรึงไนโตรเจน แหนแดงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ตั้งแต่อุณหภูมิ 5 – 45องศาเซลเซียส เจริญได้ดีที่สุดที่อุณหภูมิ 20 – 30 องศาเซลเซียส แหนแดงจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่มีแสงประมาณ 50 – 70 เปอร์เซ็นต์ของแสงสว่าง พีเอชที่เหมาะสมที่แหนแดงเจริญเติบโตได้ดีที่สุดคือ 4.0 – 5.5 ความลึกของน้ำความลึกที่เหมาะสมสำหรับการเจริญเติบโตของแหนแดงคือประมาณ 10 เซนติเมตร
ที่มาของข้อมูล  https://th.wikipedia.org



ประโยชน์ของแหนแดง



             แหนแดง ฺ(Azolla sp. ) เป็นพืชน้ำมีกระจัดกระจายอยู่ทั่วประเทศไทย เป็นทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น และแหนแดงมีโปรตีนสูง เน่าสลายปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาได้อย่างรวดเร็ว และสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย มีประโยชน์ดังต่อไปนี้

1. ใช้เป็นปุ๋ยพืชสดในนาข้าวทดแทนปุ๋ยเคมีไนโตรเจน โดยที่ในโพรงใบแหนแดง สามารถดึงเอาไนโตรเจนจากอากาศมาใช้สำหรับการเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ แหนแดงมีอัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C : N) อยู่ระหว่าง 8 – 13 หลังถูกไถกลบ จะย่อยสลายและปลดปล่อยธาตุอาหารออกมาในระยะเวลาที่สั้นประมาณ 8 สัปดาห์ ทำให้พืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เร็วขึ้น ลดปริมาณวัชพืชในนาข้าว 

2.แหนแดงจะคลุมผิวน้ำป้องกันไม่ให้แสงแดดส่องลงไปในน้ำ ทำให้วัชพืชในน้ำเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่

3.แหนแดงสามารถเลี้ยงได้ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแหนแดงในนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงปลา พบว่า มีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิตข้าวใกล้เคียงกับการเลี้ยงปลาในนาข้าวโดยใช้ปุ๋ยเคมีตามปกติ และยังให้ผลผลิตสูงกว่าการใช้ปุ๋ยเคมีไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว

4.โครงสร้างของชีวมวลของแหนแดงมีหมู่คาร์บอกซิลและหมู่ฟอสเฟตจึงใช้เป็นตัวดูดซับโลหะหนักได้ โดยแหนแดงที่ทำปฏิกิริยากับแมกนีเซียมคลอไรด์จะดูดซับ ตะกั่ว แคดเมียม ทองแดงและสังกะสีในน้ำเสียได้ดี 

การขยายพันธุ์แหนแดง


   แหนแดงเป็นพื้ชน้ำ เป็นเฟินน้ำ (water fern ) อีกพวกนึง ที่มีการสร้างสปอร์ในการขยายพันธุ์  แหนแดงเป็นพื้ชที่ชอบความชื้นสูง สามารถเติบโตได้ดีในพื้นที่ที่ปราศจาคสารเคมี เช่น พวกยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า ขยายพันธุ์ได้ง่าย

ดร.ศิริลักษณ์ แก้วสุรลิขิต นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานวิจัยจุลินทรีย์ดิน กลุ่มวิจัยปฐพีวิทยา กองวิจัยพัฒนา
ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เล่าว่า แหนแดงที่ขึ้นอยู่ตามแหล่งน้ำธรรมชาติในบ้านเรา เป็นแหนแดงสายพันธุ์ อะซอลล่า พินนาต้า (Azolla pinnata) มีขนาดเล็กกว่าแหนแดงสายพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์
ในปัจจุบันประมาณ 10 เท่า ทำให้ขยายพันธุ์ได้ช้ากว่า

แล้วใช้แหนแดงพันะธุ์อะไรจึงจะดี
    สายพันธุ์แหนแดงที่มีศักยภาพในการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว คือ Azolla microphylla (อะโซลลา ไมโครฟิลลา) ซึ่งในเว็บของเราเพาะขยายพันธุ์สายพันธุ์นี้

ดังได้กล่าวมาแล้ว แหนแดงมีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ ประมาณ 7 สายพันธุ์ แต่ที่เหมาะสำหรับประเทศไทยมีอยู่ 2 สายพันธุ์ คือ
สายพันธุ์ อะซอลล่า พินาต้า (Azolla pinnata) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ดั้งเดิมในประเทศไทยกับสายพันธุ์ อะซอลล่าไมโครฟิลล่า (Azolla microphylla)
ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตรนำเข้ามาเพื่อคัดพันธุ์

ดร.ศิริลักษณ์ เล่าว่า หลังจากที่เราคัดเลือกได้สายพันธุ์แหนแดงที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยแล้ว เราก็ได้ปรับปรุงพันธุ์โดยการฉายแสง
แล้วทำการคัดพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วขึ้น มีความเหมาะสมสามารถทนอยู่ในสภาพแวดล้อมในบ้านเราได้ดี เมื่อเทียบคุณสมบัติ
กับแหนแดงสายพันธุ์ที่มีอยู่ในบ้านเราพบว่ามีคุณสมบัติที่ด้อยกว่า คือ ตรึงไนโตรเจนได้น้อยกว่า ขนาดของต้นเล็กกว่า ขยายพันธุ์ได้ช้ากว่า

กรมวิชาการเกษตรได้พัฒนาพันธุ์และขยายพันธุ์แหนแดงสายพันธุ์ไมโคฟิลล่า (microphylla) มาตั้งแต่ปี 2520 ได้มีการรักษาพันธุ์
มาเรื่อยๆ และได้เงียบหายไประยะหนึ่ง เมื่อประเทศไทยหันมาส่งเสริมเรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ แหนแดงของกรมวิชาการเกษตรจึงได้นำมา
พัฒนาการใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์อีกครั้งหนึ่งในปี 2540

คุณสมบัติของแหนแดงพันธุ์กรมวิชาการเกษตร

เนื่องจากกาบใบบนด้านหลังของแหนแดงมีโพรงใบและมีสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินอาศัยอยู่ในโพรงใบของแหนแดง เมื่อนำมาวิเคราะห์
พบว่ามีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบสูงถึง 4.6 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าพืชตระกูลถั่วที่มีอยู่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อหว่านแหนแดงไปในนา 1 ไร่
จะมีผลผลิตแหนแดง 3,000 กก. (3 ตัน) เทียบได้กับปุ๋ยยูเรีย 7-10 กก. ซึ่งเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของข้าว (ที่มา http://www.doa.go.th/pibai/pibai/n19/v_5-june/korkui.html)

วิฺธีการขยายพันธุ์แหนแดง
    1. ขยายพันธุ์แหนแดงลงบ่อ สระน้ำ หรือแหล่งน้ำที่สรา้งขึ้น 
         น้ำจะต้องสะอาด ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมี  ควรมีการพรางแสงบ้างในช่วงแรก (สัปดาห์แรกที่ปล่อยลงแหล่งน้ำ) ใช้อัตราการปล่อยขยายพันธุ์ ถ้าเกษตรกรมีแม่พันธุ์ 10 กก. ก็จะเพียงพอสำหรับนา 1 ไร่ และใช้เวลารประมาณ 1 เดือน จึงจะเต็มพื้นที่ 1 ไร่



  2. ขยายพันธุ์แหนแดงด้วยกะละมัง หรือวงบ่อซีเมนต์
         ข้าพเจ้าพบว่า การลดต้นทุนที่ดี ในการเก็บสต๊อกแหนแดง คือ การใช้กะละมังพลาสติก ซึ่งข้าพเจ้าซื้อมาใบละ 20 บาทเท่านั้น
          กะละมังควรเป็นกะละมังเเก่า หรือ ผ่านการแช่น้ำ 7-10 วัน เพิ่อลดความเป็นพิษของพลาสติกต่อแหนแดง
           2.1 เติมปุ๋ยมูลสัตว์ เช่น มูลวัว 1 กำมือ







           2.2  เติมน้ำให้ระดับน้ำสูง 1 ฝ่ามือ หรือ15 เซนติเมตร
           2.3  ผสมปุ๋ยกับน้ำให้เข้ากัน
           2.4  ปล่อยแหนแดงลงไปราวๆ 1อุ้งมือพูนๆ
           2.5  เก็บในที่รำไร หรือพรางแสง สัก 3-5 วัน แล้วค่อยให้โดนแสง (ในกรณีที่สั่งจากไปรษณีย์) แต่ถ้าย้ายมาจากกะละมังเก่า หรือสต๊อก ก็ไม่จำเป็นต้องพรางแสง

           ข้อควรระวัง

                         น้ำที่ใชควรเป็นน้ำคลอง   หรือน้ำที่ไม่มีคลอรีน 
ลดต้นทุนค่าอาหารไก่ด้วยการใช้แหนแดงเป็นอาหารเสริมให้ไก่ไข่



รีวิวใช้แหนแดงในการเพิ่มผลผลิตในนาข้าว


แหนแดงพืชมหัศจรรย์ใช้ในทางการเกษตรและปศุสัตว์

การส่งแหนแดง

รอบการส่ง 
7 ม.ค.2562
  15 ม.ค. 2562
รอบการส่งที่ 50 (1ต.ค.2561)
        1. คุณอภินันท์  จ.หนองบัวลำภู
        2. คุณครูวราภรณ์ จ.กทม.
        3. คุณสิริชัย อุตรดิตถ์ครับ

รอบการส่งที่ 49




No comments:

Post a Comment

โครงงานการศึกษาพฤติกรรมการออกไข่ของไก่ไข่

     การทดลองเลี้ยง ไก่ไข่ เพื่อใช้รับประทานอย่างปลอดภัย ปลอดสารพิษ สามารถทำได้ง่าย ที่บ้านผมเลี้ยงจำนวน 14 ตัว แบ่งเป้็น ไก่ไข่ ตัวเมีย 11 ...

Pageviews