Friday 20 October 2017

ข้อสอบ/ ใบงาน/ LAB ชีววิทยา

คลังข้อสอบชีววิทยา

1. ข้อสอบกลางภาคชีววิทยา ม.4-ม.6
2. ข้อสอบกลางภาควิทยาศาสตร์ ม.1
3. ข้อสอบดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
4. ข้อสอบชีววิทยา-พันธุศาสตร์ ม.6
5. ขายแหนแดงเพื่อประกอบการเรียนการสอน สนใจคลิ๊กที่นี่
6. ข้อสอบวิทยาศาสตร์การกีฬา
7. ข้อสอบชีววิทยา-การเคลื่อนไหว
8. ข้อสอบชีววิทยา-พืช

คลังใบงานชีววิทยา

1. ใบงาน เรื่อง การจำแนกพืชดอก
2.ใบงาน เรื่อง การใช้งานกล้องจุลทรรศน์
3. ใบงาน เรื่อง ความหลากหลายของสัตว์มีกระดูกสันหลัง
4. ใบความรู้ เรื่อง ราก
5.ใบงาน เรื่อง กรดนิวคลีอิก
6. ใบงาน เรื่อง คาร์โบไฮเดรต
7. ใบงาน เรื่อง โครงสร้างเซลล์
8. ใบงาน เรื่อง ดีเอ็นเอ และอาร์เอ็นเอ
9. ใบงาน เรื่อง ปฏิกิริยาในซลล์ของสิ่งมีชีวิต
10. ใบงาน เรื่อง โปรตีน
11. ใบงาน เรื่อง ลิพิด
11. ใบงาน เรื่อง พฤติกรรมของสัตว์
12. ใบงาน เรื่อง วิตามิน
13. ใบงาน เรื่อง สารอนินทรีย์
14. ใบงาน เรื่อง หมู่ฟังก์ชั่น
15. ใบงาน เรือ่ง เอนไซม์
16. ใบงาน เรื่อง ฮอร์โมน 
17. ใบงาน เรื่อง แร่ธาตุ
18.ใบงาน เรื่อง อาณาจักรสัตว์
19. ใบงาน เรื่อง เนื้อเยื่อพืช
20. ใบความรู้ เรื่อง เนื้อเยื่อพืช 1
21. ใบความรู็ เรื่อง เนื้อเยื่อพืช 2
22. ใบงานเรื่อง การแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิต 
23. กระดาษคำตอบ การแลกเปลี่ยนแก๊สของสิ่งมีชีวิต
24. แบบบันทึกการสำรวจระบบนิเวศในโรงเรียน

การทดลองทางชีววิทยา

 1. การตัดเยื้อเยื่อพืช (cross section) 
 2. การตัดตามขวางใบพืช  
 3. กายวิภาคศาสตร์พืชสมุนไพร/พืชสวนครัว
 4. เทคนิคการตัด แบบ free hand section เนื้อเยื่อพืช 
 5. การใช้งานกล้องจุลทรรศน์ 
 6. การสกัดดีเอ็นเออย่างง่าย
 7. การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส
 8. การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส 

กำหนดการสอนชีววิทยา 

1. ชีววิทยา 1 (ว 31241) ม4


แผนการจัดการเรียนรู้ชีววิทยา 

1.กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

เอกสารประกอบการติวโอเน็ตวิทยาศาสตร์ ม.6

เอกสารการติวโอเน็ต-โลกดาราศาสตร์ ม.6






Monday 29 May 2017

เทคนิคการออมเงิน-ถ้าทำแบบนี้จะมีเงินล้านใน1ปี

  มีเงินล้านใน 1 ปี

  ใครๆก็พูดว่าอยากมีเงินสักล้าน แต่มันรู้สึกว่ายากซะเหลือเกินเนาะ อดและออม ก็แล้ว ทำอาชีพเสริมก็แล้ว วันนี้มีเคล็ดไม่ลับในการมีเงินล้านใน1ปี ลองมาทำเลยกันดีกว่า ขอท้าเลย
  1. กินอยู่ให้ต่ำกว่าสถานะทางการเงินที่คนเองมี 
       ไม่ใช่ว่าให้กินไข่เจียว ปลาทูเค็ม หรอกนะครับ กินอยู่ให้ต่ำกว่าฐานะนั่นหมายความว่าไม่กินหรูเป็นประจำ แต่สามารถกินแบบฟุ่มเฟือยได้ไม่เกิดร้อยละ 10 ของรายได้
2. การออมก่อนใช้
       เราเคยถูกสอนตั้งแต่เล็กๆ ละ ว่า ให้เหลือเงินมาออมนะลูกนะ นั่นคือ การออมที่ไม่ถูกวิธีเลย การออมที่มีประสิทธิภาพ เพราะบางทีการออมหลังใช้ ออาจไม่เหลือเงินเลยก็เป็นได้
3.มีการวางแผนการใช้จ่าย
       การวางแผนการใช้จ่าย คือ การควบคุมการใช้เงินตามกำหนด ตามเกณฑ์ที่จะจะจ่ายได้ หรือการทำบัญชีครัวเรือน เพราะเราจะเห็นสิ่งที่เราใช้จ่ายไปในแต่ละวัน
4. การคำนึงถึงความจำเป็นกับความต้องการ
        การคิดบวกลบคุณหาร เกี่ยวกับความอยากได้ หรือความจำเป็นที่เราต้องการสิ่งของอันนั้น เมื่อลองตรองดูดีๆแล้วจะพบว่าสิ่งนั้น จำเป็นเท่าไร เราจะสามารถจำกัดการกินการใช้ของเราได้ไม่มากไม่มากก็น้อย
           

Sunday 2 April 2017

เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน

เค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียน
เรื่อง
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา 1
เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ ด้วยบทเรียนการ์ตูน






โดย
นายสุวิทย์   ดิษฐเนตร
ครู คศ.1





โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย 2
ตำบลบ้านเป็ด  อำเภอเมือง   จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25
***************************


เค้าโครงวิจัยในชั้นเรียน

ชื่องานวิจัย     การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา 1 เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์
                   ด้วยบทเรียนการ์ตูน

ชื่อผู้ทำวิจัย    นายสุวิทย์  ดิษฐเนตร   

ตำแหน่ง        ครู อันดับ คศ.1  โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย 2 จังหวัดขอนแก่น

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
 เมื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา  เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย 2  ที่ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยยึดครูเป็นศูนย์กลางและเน้นการบรรยายเป็นหลัก พบว่ามีนักเรียนสอบไม่ผ่านเกณฑ์ (เกณฑ์ผ่านการสอบในแต่ละครั้ง คือ ร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม)จำนวนมาก  โดยมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ เพียง 14 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 36 คน ดังนั้น นักเรียนที่ผ่านเกณฑ์คิดเป็นร้อยละ 38.89 ของนักเรียนทั้งหมด

ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้การสอนด้วยบทเรียนการ์ตูน เพื่อให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมในชั้นเรียนให้มากที่สุด และตรวจสอบว่า จะสามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ ได้มากน้อยเพียงใด
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
          เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา  เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ โดยใช้การสอนด้วยบทเรียนการ์ตูน

วิธีดำเนินการวิจัย
1 ผู้มีส่วนร่วมในการวิจัย
     ประกอบด้วย ผู้วิจัย และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
 โรงเรียนแก่นนครวิทยาลัย 2  จำนวน 10 คน
2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
     2.1 เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองเชิงปฏิบัติการ คือ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้รูปแบบสืบเสาะหาความรู้เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ จำนวน 8 แผน 9 ชั่วโมง ดังนี้  (1) เรื่อง การเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว, (2) เรื่อง การเจริญเติบโตของกบ, (3) เรื่อง การเจริญเติบโตของไก่, (4) เรื่อง เรื่อง การเจริญเติบโตของแมลง, และ (5) เรื่อง การเจริญเติบโตของคน  
     2.2 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการปฏิบัติ ได้แก่
            1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากง่าย(p)และค่าอำนาจจำแนก(r)อยู่ระหว่าง 0.20–0.80 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ 0.83
       2) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นแบบสังเกตพฤติกรรม การจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน โดยครูผู้ร่วมวิจัยเป็นผู้สังเกต
            3) แบบสำรวจตนเองและแบบสำรวจกลุ่ม เป็นแบบสำรวจสำหรับนักเรียนได้สำรวจพฤติกรรมการเรียนของตนเองในชั้นเรียน
       4) แบบบันทึกเหตุการณ์การเรียนการสอน เป็นแบบบันทึกเหตุการณ์ในการจัดกิจกรรม การเรียนการสอนในชั้นเรียน โดยผู้วิจัยเป็นผู้บันทึก
            5) แบบบันทึกความคิดเห็น เป็นแบบแสดงความคิดเห็นของนักเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
            6) แบบสัมภาษณ์ เป็นแบบสัมภาษณ์ปลายเปิด ใช้คำถามที่เปิดโอกาสให้ผู้ตอบได้แสดงออกซึ่งความคิดและความรู้สึกของตนเอง ทั้งครูผู้ร่วมวิจัยและนักเรียนที่เกี่ยวข้อง
       7) แบบบันทึกประจำวันของครู
            8) กล้องถ่ายภาพ และกล้องวีดีโอบันทึกภาพเคลื่อนไหว

3 การเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ดังนี้
         3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ แบบสำรวจตนเองและแบบสำรวจกลุ่ม แบบบันทึกเหตุการณ์ในการเรียนการสอน แบบบันทึก
ความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกประจำวันของครู นอกจากนี้ยังใช้เทปบันทึกเสียง กล้องถ่ายภาพ โดยเก็บ
รวบรวมข้อมูลขณะการสอนในแต่ละครั้ง แล้วนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ในวงจรต่อไป

  3.2 การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา  เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ โดยนำไปทดสอบกับนักเรียน 2 ครั้ง คือ ก่อนเรียนและหลังเรียน
    4. ขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการตามลำดับ ดังนี้
          1) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา  เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ ไปทดสอบก่อนเรียนกับนักเรียน แล้วนำไปวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต() ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าร้อยละ
          2) วงจรที่ 1 สอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-3
          3) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากเครื่องมือต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 4-5 เพื่อใช้ในวงจรที่ 2
4) วงจรที่ 2 สอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่4-5 ที่ได้ปรับปรุงจากการสะท้อนผลการปฏิบัติจากวงจรที่ 1
          5) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากเครื่องมือต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไขแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6-8 เพื่อใช้ในวงจรที่ 3
          6) วงจรที่ 3 สอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 6-8 ที่ได้ปรับปรุงจากการสะท้อนผลการปฏิบัติจากวงจรที่ 2
          7) เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดจากเครื่องมือต่างๆ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาสะท้อนผลการปฏิบัติจากวงจรที่ 3
          8) นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา  เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ ไปทดสอบหลังเรียนกับนักเรียน แล้วนำไปวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต() ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าร้อยละ
          9) นำแบบทดสอบรายจุดประสงค์ เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ ในปีการศึกษา 2559 มาทดสอบกับนักเรียนที่เรียน เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้วยบทเรียนการ์ตูน เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 2 ปีการศึกษา ว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่

5. การวิเคราะห์ข้อมูล
          5.1 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
                   นำข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพมาตรวจสอบ  วิเคราะห์  ตีความ  และสรุป  เพื่อประเมินสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นว่าสิ่งที่ปฏิบัติมีความเหมาะสมเพียงใด  มีปัญหา อุปสรรคเกิดขึ้นหรือไม่ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาวิธีการที่จะปรับปรุงแก้ไข และพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป  แล้วรายงานผลในลักษณะการบรรยาย 



5.2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
                             วิเคราะห์ข้อมูลของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาชีววิทยา  เรื่อง การเจริญเติบโตของสัตว์ จากการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนโดยนำคะแนนที่ได้จากการตรวจแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยเลขคณิต() ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าร้อยละ





Wednesday 1 March 2017

ใบงานชีววิทยา เรื่อง ชีววิทยากับการดำรงชีวิต

ใบงานชีววิทยา เรื่อง ชีววิทยากับการดำรงชีวิต

ใบงานชีววิทยา เรื่อง ชีวจริยธรรม

ใบงานชีววิทยา เรื่อง ชีวจริยธรรม

ใบงานชีววิทยา เรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ใบงานชีววิทยา เรื่อง กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

Tuesday 17 January 2017

ตัวอย่างงานวิจัย

1.
ผู้วิจัย : หทัยชนก นันทพานิช      
ปี        : 2546       
เรื่อง   : การศึกษาวิธีลดปริมาณการสูญเสียวิตามินบี-1 ในข้าวเหนียว ในระหว่างกระบวนการทำให้สุก
บทคัดย่อ
            ศึกษาวิธีลดปริมาณการสูญเสียวิตามินบี-1 ในข้าวเหนียวในระหว่างกระบวนการทำให้สุก พบว่าผลของเวลาที่ใช้ในการแช่ข้าว คือ 2,4,6,8 และ 10 ชั่วโมง เปอร์เซ็นต์การสูญเสียวิตามินบี-1 เท่ากับ 7.69,19.58,23.78,28.67, และ 32.88% ตามลำดับอุณหภูมิในการนึ่งข้าว 70°C, 80°C, 90°C, 100°C และ 110°C เปอร์เซ็นต์การสูญเสียวิตามินบี-1 เท่ากับ 10.20, 31.97, 44.90, 60.54, 72.79 และ 82.31% ตามลำดับ ผลของเวลาที่ใช้นึ่งข้าว เวลาที่ใช้นึ่ง 20, 25, 30 และ 35 นาที มีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียวิตามินบี-1 เท่ากับ 11.81, 61.11, 66.66, 75.69 และ 82.64 % ตามลำดับ ส่วนผลการแช่ข้าวในน้ำประปา, น้ำกลั่น 2 ครั้ง, น้ำมะนาว 10%, น้ำมะนาว 20%, และน้ำมะนาว 30% พบว่ามีเปอร์เซ็นต์การสูญเสียวิตามินบี-1 เท่ากับ 90.36, 66.66, 57.06, 50.28 และ 40.10% ตามลำดับ ดังนั้นถ้าต้องการลดปริมาณการสูญเสียวิตามินบี-1 ในข้าวเหนียวในระหว่าง กระบวนการทำให้สุกควรนึ่งข้าวโดยลดเวลาในการแช่ข้าวลง นึ่งโดยใช้ไฟปานกลางและใช้เวลานึ่งให้น้อยที่สุด ที่สำคัญหลีกเลี่ยงการแช่ข้าวด้วยน้ำประปาหรือน้ำบ่อ หรือบีบมะนาวลงในข้าวที่แช่ เนื่องจากระหว่างการนึ่งถ้าอยู่สภาวะที่เป็นกรดอัตราการสลายตัวของวิตามินบี-1 จะเกิดอย่างช้า
-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
                   
2.
ผู้วิจัย    : หทัยชนก นันทพานิช    
 ปี         : 2548      
 เรื่อง    : การศึกษาปริมาณกรดโฟลิกในพืชผักพื้นบ้านบางชนิดที่เป็นอาหารของคนภาคอีสาน โดยใช้เครื่องโครมาโท กราฟีของเหลวสมรรถนะสูง(HPLC)
บทคัดย่อ 
             ในส้มตำมีกรดโฟลิกในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน ได้แก่
 มะละกอแขกดำ  12.82 มะละกอพื้นบ้าน 83.99 มะนาว 4.16 มะเขือเปราะ 24.63 มะเขือลาย 22.96
มะเขือเทศ 6.60 มะเขือเทศท้อ  20.33 พริกสด 0.86 พริกแห้ง ถั่วงงอก 36.01 ถั่วฝักยาว15.46 
และผักกาดดอง 0  % ของปริมาณน้ำหนักสด 100 กรัม(ความต้องการกรดโฟลิกในแต่ละวันตามช่วงอายุแรกเกิด-3ปี ต้องการ 100 กรัม4ปีขึ้นไป ต้องการ 400 กรัมผู้สูงอายุ ต้องการ 600 กรัมขึ้นไป)อาหารจะสูญเสียกรดโฟลิกร้อยละ 60เมื่อผ่านความร้อนมากกว่า 110 องศาเซลเซียส ดังนั้นการรับประทานผักควรเป็นผักสด
           

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------
  
      
              

โครงงานการศึกษาพฤติกรรมการออกไข่ของไก่ไข่

     การทดลองเลี้ยง ไก่ไข่ เพื่อใช้รับประทานอย่างปลอดภัย ปลอดสารพิษ สามารถทำได้ง่าย ที่บ้านผมเลี้ยงจำนวน 14 ตัว แบ่งเป้็น ไก่ไข่ ตัวเมีย 11 ...

Pageviews